ประโยชน์ของการสำรวจระยะไกล

1.   การสำรวจทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา (Archaeology and Anthropology Study)    

ที่สำคัญคือ การสำรวจ ที่ตั้ง ของแหล่งโบราณสถาน ในพื้นที่ซึ่งยากต่อการเข้าถึงทางพื้นดิน รวมถึง
ที่อยู่ ใต้ผิวดินไม่ลึกมากนัก โดยมักใช้ข้อมูลที่ได้จากเรดาร์และเครื่องวัดการแผ่รังสีช่วง IR




  
  แผนที่ของเขต นครวัด (Angkor Wat) และ นครธม (Angkor Thom) ในประเทศกัมพูชา 

  
 ภาพถ่ายทางอากาศของ นครวัด (Angkor Wat) ประเทศกัมพูชา ในปี ค.ศ.1999

2.    การรังวัดภาพและการทำแผนที่ (Photogrammetry and Cartography)  

ที่สำคัญคือการทำ แผนที่แสดง ลักษณะภูมิประเทศ (topographic map) และ แผนที่แสดง ข้อมูลเฉพาะอย่าง (thematic map) ซึ่งมักต้องใช้เทคนิคทาง GIS เข้ามาช่วยด้วย



ตัวอย่างภาพเรดาร์แสดง ลักษณะภูมิประเทศ (topographic image) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย


 3. การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Survey) 
ที่สำคัญคือ การสำรวจโครงสร้างชั้นดินและชั้นหิน การสำรวจแหล่งแร่ การสำรวจแหล่งน้ำมัน  การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน และ การสำรวจพื้นที่เขตภูเขาไฟและเขตแผ่นดินไหว เป็นต้น


  
แผนที่แสดงการเกิดแผ่นดินไหวตามจุดต่างๆ ทั่วโลก เมื่อวันที่ 12 เมษา 55

 4. การศึกษาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

 ที่สำคัญคือ การศึกษาพื้นที่ (site study) การวางผังระบบสาธารณูปโภค (infrastructure planning)   และ การวางแผนจัดระบบการขนส่งและการจราจร (transport and traffic planning) เป็นต้น


  

5. การศึกษาในภาคเกษตรและการจัดการป่าไม้ (Agricultural and Forestry Study)

ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินภาคเกษตร  การสำรวจคุณภาพดิน  การสำรวจความสมบูรณ์ของพืชพรรณ และ การตรวจสอบการใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ตามเวลา เป็นต้น


  
 ตัวอย่างภาพดาวเทียมแสดง ลักษณะภูมิประเทศ และความสมบูรณ์ของ พืชพรรณ 
ในสหรัฐอเมริกา 


6. การวางผังเมือง (Urban planning)

 ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมือง  การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตเมือง และการออกแบบพื้นที่เชิงภูมิสถาปัตย์ (landscape modeling) เป็นต้น

  
ตัวอย่างภาพสีธรรมชาติจากเครื่อง Landsat/TM แสดง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป


7.   การศึกษาแนวชายฝั่งและมหาสมุทร (Coastal and Oceanic Study) 

ที่สำคัญมีอาทิเช่น  การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตชายฝั่ง การจัดการพื้นที่ชายฝั่ง  และ  การศึกษาคุณสมบัติเชิงกายภาพและเชิงเคมีของน้ำทะเลระดับบน เช่น อุณหภูมิหรือความเค็ม เป็นต้น 

  

8. การติดตามตรวจสอบภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring)

ที่สำคัญมีอาทิเช่น น้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว การเกิดไฟป่า หรือ การเกิดไฟในแหล่งถ่านหินใต้ผิวดิน (subsurface coal fires) เป็นต้น





 9.  การสำรวจบรรยากาศและงานวิจัยทางอุตุนิยมวิทยา (Atmospheric and Meteorological Study)

ที่สำคัญมีอาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงสั้น  การศึกษาองค์ประกอบของอากาศระดับความสูงต่าง ๆ เช่น ไอน้ำ   คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ โอโซน รวมไปถึง การตรวจสอบการแปรปรวนของอากาศระดับล่าง เช่น การเกิดพายุขนาดใหญ่ หรือ พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น 


  
 ภาพดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่น Imbudo ซึ่งเกิดในเขตทะเลจีนใต้  ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2546



 ข้อมูลของ ชั้นโอโซน ในแถบขั้วโลกใต้ เปรียบเทียบ ระหว่างปี ค.ศ.2000, 2002 และ 2003จากเครื่องTOMS

      
10.  การหาข้อมูลเพื่อภารกิจทางทหาร (Military Services)

 ที่สำคัญคือ การถ่ายภาพจากทางอากาศด้วยเครื่องบินสอดแนม (spy plane)  และ การสำรวจพื้นที่ที่สนใจ โดยใช้เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพสูงบนดาวเทียม



ภาพของเขตพระราชวังในกรุง Baghdad ประเทศ อิรัก ก่อนถูกโจมตีโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา

 

ตัวอย่างแนว การประยุกต์ใช้งาน ของเทคโนโลยีดาวเทียมทาง RS ในปัจจุบัน


แหล่งอ้างอิง : 
http://www.kamil.info/forum/files/republkan_palace_2.jpg
http://www.gdptvietnam.com/wp-content/uploads/2012/06/1-bao-Megi-21810.jpg
http://52011215054gis.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
http://www.landinfo.com/GalSatL7fused15m.htm
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/287/5/3/april/science-manager-april/555000004862607.jpg