1. การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง(Synopic View)
2. การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น
3. การบันทึกภาพบริเวณเดิม(Repetitive Coverage)
4. การให้รายละเอียดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ
5. การให้ภาพสีผสม(False Color Composite)
สีแดง(R) + สีเขียว(G)
= สีเหลือง(Yellow)
สีแดง(R) + สีน้ำเงิน(B)
= สีม่วงแดง(Magenta)
สีน้ำเงิน(B) + สีเขียว(G)
= สีฟ้า(Cyan)
สีน้ำเงิน(B) + สีเขียว(G) + สีแดง(R)
= สีขาว(White)
สีเหลือง(Y) + สีม่วงแดง(M)+สี ฟ้า(C)
= สีดำ(Black)
แม่สีบวก
แม่สีลบ
6. การเน้นคุณภาพของภาพ(Image Enhancement) มี 2 วิธี คือ การขยายค่าความเข้มระดับสีเทาให้กระจายจนเต็มช่วงเรียกว่า Linear
Contrast Stretch และ Non - Linear Contrast
Stretch โดยให้มีการกระจายข้อมูลของภาพจากดาวเทียมในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนจุดภาพใกล้เคียงกัน เรียกว่าHistogram Equalization Stretch
ภาพข้อมูลดาวเทียมก่อนการเน้นภาพ
ภาพข้อมูลดาวเทียมหลังการเน้นภาพ Image
Enhancement
การจำแนกดาวเทียมตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 4 ประเภท คือ
1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา(Meteorological Satellites) เช่น ดาวเทียม TIROS, NOAA,
SMS/GOES,
GMS, METEOSAT
2. ดาวเทียมสื่อสาร(Communication Satellites) เช่น ดาวเทียม TELSTAR, PALAPA, INTELSAT
3.
ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เช่น ดาวเทียม LANDSAT,
SEASAT, SPOT, MOS, THAICHOTE
4. ดาวเทียมหาตำแหน่งพิกัดบนผิวโลก
ลักษณะการโคจรของดาวเทียม
1. การโคจรในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร (Geostationary or Earth
synchronous)
การโคจรในแนวระนาบโคจรในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร สอดคล้องและมีความเร็วในแนววงกลมเท่าความเร็วของโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ดาวเทียมเสมือนลอยนิ่งอยู่เหนือตำแหน่งเดิมเหนือผิวโลก(Geostationary
or Earth synchronous)โดยทั่วไปโคจรห่างจากโลกประมาณ 36,000 กม. ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมสื่อสาร
2. การโคจรในแนวเหนือ-ใต้ (Sun
Synchronous)
โคจรในแนวเหนือ-ใต้รอบโลก ซึ่งสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์(Sun Synchronous)โดยโคจรผ่านแนวศูนย์สูตร ณ เวลาท้องถิ่นเดียวกัน โดยทั่วไปโคจรสูงจากพื้นโลกที่ระดับต่ำกว่า 2,000 กม.ซึ่งมักเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแผ่นดิน
การโคจรของดาวเทียม